ลูกซ้อมไวโอลินทุกวันแล้วแต่ก็ยังไม่เก่ง เพราะอะไร? แนวคิดดีๆจากคุณแม่น้อง Chelsey ผู้ชนะการแข่งขันไวโอลิน (ตอนที่ 3/5)

ลูกซ้อมไวโอลินทุกวันแล้วแต่ก็ยังไม่เก่ง เพราะอะไร? เมื่อลูกซ้อมได้ทุกวันแล้ว สิ่งสำคัญอันดับต่อมาคือ คุณภาพของการซ้อมครับ การซ้อมไม่มีคุณภาพ หรือ “ซ้อมไม่เป็น” คือสาเหตุอันดับ 1 ของปัญหาการเรียนดนตรีสารพัดครับ ทั้งเล่นไม่เก่ง เรียนช้า ย่ำอยู่กับที่ “หลายคนยังเข้าใจผิดกันเยอะว่า การซ้อมดนตรีคือหยิบโน้ตเพลงมาเล่น ทำซ้ำหลายๆครั้ง ยิ่งซ้อมเยอะยิ่งดี ยิ่งเก่ง” ในความเป็นจริง ถ้าเป็นนักดนตรีที่เก่งและเชี่ยวชาญแล้วจะรู้ว่า ความคิดนี้ผิดมากๆครับ การซ้อม 2 แบบ ที่ได้ผลต่างกันอย่างสิ้นเชิง ผมแบ่งการซ้อมไว้ 2 แบบคือ “ซ้อมด้วยกำลัง” กับ “ซ้อมด้วยสมอง” ครับ ซ้อมด้วยกำลังนั้น คือซ้อมไปเรื่อยๆ หลายๆรอบ สักแต่ว่าซ้อม ถึงจะซ้อมทุกวัน วันละ 3 ชั่วโมงก็ไม่ได้เก่งขึ้นซักเท่าไหร่ครับ เพราะจุดที่ผิดก็ยังผิดเหมือนเดิม จุดที่เล่นไม่เพราะก็ยังไม่เพราะเหมือนเดิม แต่การซ้อมด้วยสมองนั้น เด็กจะต้องใช้เวลาซ้อมที่มีจำกัดให้คุ้มค่าที่สุด โดยต้องคิดก่อนว่าควรจะซ้อมท่อนไหน? เพราะอะไร? มีปัญหาอะไร? และจะแก้ไขอย่างไร? ถ้าซ้อมแบบนี้ ถึงจะซ้อมแค่วันละ 30 นาที ยังได้ประโยชน์และเก่งเร็วกว่าซ้อมด้วยกำลังเลยครับ “การซ้อมไม่ได้ทำให้เก่งขึ้น…… Continue reading ลูกซ้อมไวโอลินทุกวันแล้วแต่ก็ยังไม่เก่ง เพราะอะไร? แนวคิดดีๆจากคุณแม่น้อง Chelsey ผู้ชนะการแข่งขันไวโอลิน (ตอนที่ 3/5)

ซ้อมไวโอลินทุกวันสำคัญที่สุด! แต่ทำยังไงให้ลูกซ้อมทุกวันล่ะ? แนวคิดดีๆจากคุณแม่น้อง Chelsey ผู้ชนะการแข่งขันไวโอลิน (ตอนที่ 2/5)

ซ้อมไวโอลินทุกวันสำคัญที่สุด! แต่ทำยังไงให้ลูกซ้อมทุกวันล่ะ? แนวคิดดีๆจากคุณแม่น้อง Chelsey ผู้ชนะการแข่งขันไวโอลิน (ตอนที่ 2/5) ขอปรับความเข้าใจกันสั้นๆก่อนเลยครับว่า “ซ้อมทุกวัน วันละไม่กี่นาที ยังดีกว่าซ้อมอัดกันวันเดียวนานเป็นชั่วโมง” การจะฝึกฝนสิ่งใหม่จนเกิดเป็นความชำนาญนั้น ไม่สามารถเร่งได้โดยการอัดเข้าไปในวันเดียวเยอะๆ แต่ต้องอาศัยการสะสมทุกวันครับ สำหรับเด็กเล็ก จะทำให้ซ้อมทุกวันนั้นไม่ยากหรอกครับถ้าฝึกตั้งแต่แรก ครูมีวิธีมาฝากครับ ขั้นแรกสุดของการฝึกให้ลูกซ้อมทุกวัน ก้าวแรกสุดเกิดขึ้นก่อนจะเริ่มเรียนไวโอลินอีกครับ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องทำข้อตกลงให้ชัดเจนกับลูกก่อน ว่าถ้าอยากเรียนจะต้องซ้อมทุกวันนะ แต่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยหนูซ้อมทุกๆวันเลย ทำให้เขาเข้าใจก่อนครับ ว่าการซ้อมเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนไวโอลิน และสิ่งนี้ไม่ใช่การปล่อยให้เขาโดดเดี่ยวรับผิดชอบอยู่คนเดียวในช่วงแรกครับ หลังจากนั้นต้องทำให้เกิดการซ้อมเป็นกิจวัตรประจำวันให้ได้จริงๆครับ โดยไม่สำคัญว่าจะต้องซ้อมนานแค่ไหน เอาแค่ให้เกิดนิสัยในการซ้อมทุกวันให้ได้ก่อนก็พอครับ ในช่วงแรกๆของการเรียนไวโอลิน แค่ซ้อมวันละ 3-5 นาทีได้ทุกวันก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วครับ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การจัดตารางเวลาซ้อมให้เหมือนกันทุกวันก็ช่วยได้เยอะครับ เช่น ซ้อมทุกวันหลังกินข้าวเย็น ถ้าทำแบบนี้ได้ทุกวัน ไม่เกินเดือนก็หมดปัญหาเรื่องลูกไม่ซ้อมไวโอลินแล้วครับ วินัยของลูก เกิดจากวินัยของคุณ ความยากคือผู้ปกครองต้องมีส่วนช่วยน้องเยอะมากๆครับในช่วงแรก ยิ่งถ้าเป็นเด็กเล็ก จะคิดภาพเหมือนในหนัง ที่ส่งลูกไปเรียนไวโอลิน ลูกชอบและหลงรักในเสียงไวโอลินมากๆ จนต้องกลับมาซ้อมที่บ้านทุกวันด้วยตนเอง…. อันนั้นคือส่วนน้อยมากๆครับที่จะเป็นแบบนั้น วินัยในการซ้อมส่วนใหญ่เกิดจากคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้น้องซ้อมที่บ้านครับ ยิ่งเริ่มต้นตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเรียนจะไม่มีปัญหาอะไรแม้แต่น้อยครับ  แต่ถ้าเคยเรียนไปแล้ว เคยไม่ซ้อมจนเป็นนิสัยไปแล้ว จะฝึกให้ซ้อมทุกวันนั้นจะยากกว่ามากๆครับ ต้องใช้ความพยายามและความอดทนกันเป็น 2 เท่าเลยทีเดียวครับ…… Continue reading ซ้อมไวโอลินทุกวันสำคัญที่สุด! แต่ทำยังไงให้ลูกซ้อมทุกวันล่ะ? แนวคิดดีๆจากคุณแม่น้อง Chelsey ผู้ชนะการแข่งขันไวโอลิน (ตอนที่ 2/5)

จะหาครูไวโอลินที่เหมาะสมที่สุดให้กับลูกได้อย่างไร? แนวคิดดีๆจากคุณแม่น้อง Chelsey ผู้ชนะการแข่งขันไวโอลิน (ตอนที่ 1/5)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเลือกครูดนตรีที่เหมาะสมกับลูก ที่จะทำให้ลูกเรียนไวโอลินเก่งได้เร็วและถูกต้อง ไม่ต้องเจอกับความเสี่ยงว่าจะเรียนไม่รอดครับ

พลิกวิกฤติเป็นโอกาส เรียนดนตรีออนไลน์อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อ่านแนวคิดที่จะทำให้การเรียนดนตรี Online ที่หลายคนมองว่าเป็นอุปสรรคในการเรียนเกิดประโยชน์สูงสุด ที่จะทำให้คุณไม่เสียโอกาสในช่วง COVID นี้

มาตรการป้องกันเด็กขี้ท้อขาดความพยายามแบบอยู่หมัดด้วยสิ่งนี้… มุมมองของครูสอนไวโอลินผู้สร้างแชมป์ประเทศ 5 สมัยซ้อน

ผู้ปกครองบางท่านอาจจะเคยเจอปัญหาที่ลูกอยากทำแต่อะไรง่ายๆพอเจออะไรยากหน่อยก็ไม่อยากทำ ล้มเลิกเอาซะอย่างนั้น ทั้งเคี่ยวเข็ญ ให้กำลังใจ ก็ยังไม่ยอมที่จะฮึดขึ้นมาสู้ หรือถึงทำก็ทำแบบหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี

ใครว่าผู้ใหญ่เรียนดนตรีไม่ได้?

หนึ่งในสิ่งที่น่าเจ็บปวดที่สุดของครูคือการเห็นนักเรียนผู้ใหญ่หลายคนที่ลองฝึกเองหรือเรียนมาเนิ่นนานแล้วรู้สึกเหมือนฝันสลาย เพราะเล่นได้ไม่เพราะและรู้สึกเหมือนไม่ได้รับการปูพื้นฐานอะไรเลย ไม่เข้าใจโน้ต ไม่เข้าใจว่าเสียงเพี้ยนไม่เพี้ยนฟังยังไง ได้แต่สีเพลงไปเป็นเพลงๆ ทั้งๆที่ขาดเพียงแค่เคล็ดลับเล็กน้อยเท่านั้นก็จะไปถึงความฝันที่ตนต้องการได้…

ซ้อมทีละก้าวเล็กๆ จนเป็นบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ได้ เรื่องเล็กๆ ที่หลายคนลืมไปในการซ้อมไวโอลิน

“ความสำเร็จที่สะสมเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน
เล็กน้อยจนเราไม่เห็นคุณค่านั้นง่ายมากที่จะถูกมองข้ามไป
เพราะเรามัวแต่มองหาความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่ได้มาแบบทันตาเห็น”

อยากให้ลูกเก่งดนตรี? “อย่า” ซ้อมเยอะ

หลายๆ ครั้งที่เราเรียนดนตรี
ครูมักจะบอกกับลูกของเราว่า
“ซ้อมเยอะๆนะ จะได้เก่งๆ”
โดยหลายๆครั้งก็ลืมสอนเด็กไปด้วยว่า
แล้วจะซ้อมยังไงถึงจะมีประสิทธิภาพที่สุด?

เรื่องเล็กๆ ที่ทุกคนอาจลืมไป แต่กลับทำให้ลูกอ่านโน้ตช้าเป็นเต่า…

พ่อแม่คนไหนกำลังส่งลูกเรียนดนตรีแล้วพบว่าลูกมีปัญหาอ่านโน้ตช้า บางทีอ่านผิดๆถูกๆบ้าง กว่าจะนึกโน้ตแต่ละตัวออกนี่แทบจะกลั้นหายใจลุ้นกันตัวโก่ง แน่นอนครับว่าการฝึกอ่านบ่อยๆ มันก็ช่วยได้ แต่ถ้ารู้เคล็ดลับซักนิด จะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะเลยครับ

“พรสวรรค์” หรือจะสู้ “พรแสวง”

A view through the glass of the final sorting box shows a diamond being sorted amongst waste rock which will be discarded. Sometimes there are more diamonds than waste and vice versa.

“พรสวรรค์ เราเลือกเองไม่ได้ว่า
จะประสบความสำเร็จกับอะไร
แต่พรแสวงเราเป็นคนเลือก
ความสำเร็จที่เป็นของเราเอง”