“5 สาเหตุหลัก เรียนดนตรีแล้วล่ม” โปรดอ่านก่อนตัดสินใจให้ลูกเรียนดนตรี
เรียนดนตรีไม่รอด เรียนตั้งนานก็ไม่เก่ง ต้องเลิกเรียนกลางคัน เป็นปัญหาหลักที่ทำให้ผู้ปกครองมักจะหนักใจเวลาจะให้ลูกเรียนดนตรีเสมอ แต่รู้มั้ยว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เด็กเรียนดนตรีไม่รอดกันบ้าง
1.เจอครูที่ไม่เหมาะกับนิสัยของเด็ก: ครูดนตรีจะมีความถนัดในการสอนเด็กแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน บางคนสอนเด็กผู้ชายซนๆเก่ง บางคนสอนเด็กผู้หญิงเอาแต่ใจเก่ง ดังนั้นหากลูกไปเจอครูที่รับมือกับเด็กประเภทนั้นๆ ไม่เก่งก็อาจเป็นสาเหตุให้เด็กและครูจูนกันไม่ติดจนสุดท้ายก็ต้องเลิกเรียนไป
วิธีแก้ ก่อนเรียนดนตรี คุณพ่อคุณแม่ควรจะมีโอกาสได้พบป่ะกับครูที่จะสอนลูกเราก่อน ลองคุยและสอบถามถึงสไตล์การสอนก็จะทราบได้ว่าครูคนนั้นเหมาะกับลูกของเรารึเปล่า พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะพลาดในจุดนี้ คิดแค่ว่าส่งลูกไปโรงเรียนดนตรี ให้โรงเรียนจัดคุณครูให้ก็จบ กลายเป็นว่าสุดท้ายก็เรียนไม่รอด
2.เด็กขาดแรงบันดาลใจ: เป็นเรื่องปกติที่เวลาเรียนดนตรีจะมีหนังสือเรียนให้ฝึกเป็นเพลงๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเพลงที่เด็กไม่รู้จัก ทำให้เรียนไปนานๆ เด็กหลายๆ คนจะหมดแรงบันดาลใจ และเริ่มรู้สึกเบื่อกับการเรียนดนตรี
วิธีแก้ เบื้องต้นโดยการชวนลูกฟังเพลงบ่อยๆ หานักดนตรีหรือนักร้องคนโปรดด้วยกัน เหมือนให้ลูกของเรามี idol บ้าง เมื่อมีเพลงที่ชอบแล้วไม่ต้องกลัวที่จะ Request เพลงนั้นๆ กับคุณครูผู้สอน ถ้าลูกไม่บอกครู พ่อแม่ก็สามารถเข้าไปบอกด้วยตนเองได้เลยว่าอยากให้ลูกเล่นเพลงอะไร (เอาเพลงที่ลูกชอบนะ ไม่ใช่ตัวเองชอบ) ครูส่วนใหญ่จะยินดีหาโน้ตมาให้ฝึกตาม Request อยู่แล้ว หรือถ้าเพลงยากเกินไปก็มักจะแปลงเพลงให้ง่ายขึ้นเพื่อให้เหมาะกับระดับเทคนิกของเด็ก
3.ครูไม่ติดตามพัฒนาการของเด็ก: ครูตามสถาบันดนตรีทักจะต้องสอนเด็กเป็นจำนวนมาก บางวันหลาย 10 คน จึงเป็นเรื่องปกติที่ครูบางคนจะลืมไปว่าเด็กคนไหน กำลังฝึกเทคนิกอะไรอยู่ มีอะไรต้องแก้ไข มีอะไรต้องพัฒนาอีก จึงได้แต่สอนตามหนังสือเพลงไปเรื่อยๆ ทำให้ปัญหา หรือเทคนิกที่ไม่ดีคาราคาซังได้ ครูที่ใส่ใจพัฒนาการเด็กจะสนใจว่า “เด็กกำลังฝึกเรื่องอะไรอยู่” แต่ครูที่สอนตามหนังสือจะสนใจว่า “เด็กเล่นเพลงอะไรอยู่” โดยอาจลืมไปด้วยซ้ำว่าเพลงนั้นๆ ต้องการฝึกเทคนิกอะไร
วิธีแก้ คุยกับครูผู้สอนบ่อยๆ อาจจะเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย แล้วถามถึงพัฒนาการของลูกเรา ถ้าครูสามารถตอบในรายละเอียดได้ว่าลูกเราเก่งอะไร ด้อยอะไร ตอนนี้กำลังฝึกเรื่องอะไรอยู่ แปลว่าครูใส่ใจในพัฒนาของเด็ก แต่ถ้าไม่ได้เป็นแบบนั้น การถามบ่อยๆ ก็จะทำให้ครูรู้สึกว่าพ่อแม่เด็กคนนี้ใส่ใจนะ ต้องตั้งใจสอนและใส่ใจพัฒนาการเพื่อมาตอบพ่อแม่ให้ได้
4.ไม่ซ้อม: อันนี้เป็นปัญหาสุด Classic ของผู้เรียนดนตรี ที่ครูผู้สอนมีส่วนช่วยได้ไม่มากเพราะเป็นเรื่องของวินัยส่วนตัว ครูดนตรีมักจะมีวิธีการรับมือกับเด็กไม่ซ้อมต่างๆกัน ตั้งแต่การเอาขนมมาล่อ สะสมคะแนนมาแลกของเล่น เอาสติ๊กเกอร์สวยๆ มาล่อต่างๆนาๆ แต่สุดท้ายก็เป็นหน้าที่ของเด็กที่จะต้องรับผิดชอบด้วยตนเอง
วิธีแก้ ทำให้การซ้อมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน โดยการซ้อมดนตรีไม่ได้จำเป็นต้องซ้อมวันละเยอะๆ หลายชั่วโมง แต่ต้องการการฝึกซ้อมเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในทุกๆวันเพื่อให้เกิดความคุ้นมือมากกว่า (ซ้อมทุกวันวันละ 10 นาที ยังดีกว่าซ้อมเป็นชั่วโมงแค่ 1 วันก่อนมาเรียน)
5.เจอครูไม่ดี: อันนี้ก็คงต้องเป็นที่ยอมรับกันว่าครูดนตรีก็เหมือนกับอาชีพอื่นๆ มีทั้งคนที่เก่งและคนที่ไม่เก่ง ถ้าเจอครูที่เก่งก็ถือว่าโชคดีมากๆ และมักจะเห็นพัฒนาการของลูกได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าเจอ ครูไม่ดีก็ควรจะรีบเปลี่ยนครู อย่ารอช้า (ครูที่เล่นดนตรีเก่ง กับสอนเก่งไม่เหมือนกันนะ)
วิธีแก้ ก่อนจะเลือกครูมาสอนให้ลูกลองหาข้อมูลดูก่อนว่า เครื่องดนตรีนั้นๆ มีครูคนไหนเก่งบ้าง สอนอยู่ที่ไหน ใช้เวลาซักพักกับการ search google ก็จะสามารถเซฟเงินและเวลาได้เยอะกว่าการเดินดุ่ยๆไปตามสถาบันแล้วส่งลูกไปเรียนครับ
ติดตามบทความดีๆเกี่ยวกับการเรียนดนตรีได้จาก Page MusIQ studio สตูดิโอดนตรีแนวใหม่ สอนโดยครูผู้มีผลงานระดับประเทศ (สร้างแชมป์ประเทศ 5 ปีซ้อน) เรียนแล้วต้องเก่ง ไม่มีคำว่าไม่รอด ถ้าชอบอย่าลืมกด Like page กันด้วยนะครับ