“เด็กสมาธิสั้น” เรื่องเล่าจากครูสอนดนตรี

เด็กไม่มีสมาธิกับสมาธิสั้นไม่เหมือนกันนะครับ

เด็กไม่มีสมาธินี่แทบจะเป็นเรื่องปกติซึ่งจะค่อยๆพัฒนาขึ้นตามวัยของเขาครับ ค่อยๆดึงความสนใจก็จะกลับมาตั้งใจเรียนได้ถ้าครูมีจิตวิทยาที่ดีพอ แต่เด็กสมาธิสั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่เคยได้สัมผัสจะพบว่าเป็นอะไรที่เหนือกว่าเด็กไม่มีสมาธิมากๆ จะยุกยิกๆ อยู่ตลอดเวลา เหมือนพลังงานเกินอย่างเหลือล้นเลยครับ

เมื่อประมาณต้นปีที่แล้ว (2558) ผมเคยสอนเด็กสมาธิสั้นอยู่คนนึง ซึ่งตอนแรกที่เจอกันเนี่ย ดูเรียบร้อย ตั้งใจเรียนมากๆ ไม่บอกก็ไม่รู้ครับว่าสมาธิสั้น ออกจะดูเบลอๆ งงๆ ด้วยซ้ำ ถึงเพิ่งมมารู้ทีหลังว่าจริงๆแล้วน้องคนนั้นต้องทานยาทางจิตเวชเพื่อกดอาการเอาไว้เพื่อให้นิ่งและเรียนได้ครับ

ปรากฎว่ามีอยู่วันนีงที่น้องลืมกินยาแล้วมาเรียนถึงพบว่าเวลาอาการกำเริบนี่แทบจะสอนไม่ได้จริงๆ ความยุกยิก อยู่ไม่นิ่งนี่ทะลุขีดจำกัดกันเลยทีเดียว

หลังจากนั้นน้องก็ทานยามาเรียนทุกครั้งนั่นแหล่ะครับ โดยหลังจากนั้นผมก็สอนโดยเน้นเรื่องสมาธิเป็นสำคัญเหมือนกัน พยายามเลือกเพลงที่ไม่ยากแต่มีท่อนเพลงที่ยาวขึ้นเพื่อให้น้องสมาธินิ่งพอจนจบท่อนได้

เวลาก็ผ่านไปประมาณ 1 ปี….

น้องคนนั้นก็ยังมาเรียนอยู่จนทุกวันนี้ครับ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต่างไปคือ ไม่ต้องกินยาแล้ว จริงๆแล้วการที่น้องเลิกกินยานี่เหมือนจะเป็นเรื่องบังเอิญครับ เพราะคุณแม่ของน้องลืมให้กินยาแล้วพามาเรียนนี่ล่ะครับ คุณแม่กระซิบข้างหูก่อนเรียนเลย “คุณครูคะ วันนี้น้องลืมกินยา อาจจะยุกยิกสอนยากนะคะ”

ปรากฎว่าลองสอนดู เหมือนกลายเป็นคนละคนกับปีที่แล้วเลยครับ น้องนิ่งมากและเรียนเพลงได้อย่างเป็นปกติเหมือนเด็กทั่วไปเลยครับ จากวันนั้นที่น้องแค่เพลงสั้นๆ ยังสมาธิหลุดตลอดเวลา จนมาถึงวันนี้ที่เล่นเพลงคลาสสิคระดับ Handel ได้ทั้งท่อน ผมว่ามันเป็นพัฒนาการด้านสมาธิที่อลังการมาก!!!

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จุดประกายให้กับวิธีการสอนดนตรีแบบ MusIQ พอสมควรครับ ว่าดนตรีสามารถให้อะไรกับผู้เรียนได้มากกว่าแค่เล่นดนตรีเป็นจริงๆ

ติดตามเรื่องราวทางดนตรีดีๆเพิ่มเติมที่ : http://www.facebook.com/musiqmethod

By อ.ณัฐนุชา ศศิปุราณะ (ครูนุ)

อาจารย์สอนไวโอลินผู้สร้างแชมป์ไวโอลินระดับประเทศ 5 สมัยซ้อน และมีผลงานระดับประเทศอีกมากมาย เช่นฝึกนักเรียนเป็นหัวหน้าวง Orchestra ต่างๆทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงฝึกครูผู้สอน และนักดนตรีมืออาชีพมากมาย ครูนุเชื่อว่าการเรียนไวโอลินนั้น วิธีคิดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้านักเรียนรู้วิธีคิดแบบนักไวโอลิน ก็จะรู้วิธีฝึกที่มีประสิทธิภาพ รู้วิธีอ่านโน้ต แกะเพลง และอยากฝึกเพลงหรือเล่นเพลงอะไรก็ทำได้เองโดยไม่ต้องพึ่งครูผู้สอน ซึ่งมีประโยชน์กับผู้เรียนในระยะยาวมากกว่าการฝึกเพลงโดยการจำเพลงหรือเล่นเลียนแบบครู ครูจึงไม่เพียงสอนวิธีเล่นไวโอลินที่ถูกต้องที่ทำให้การเล่นไวโอลินกลายเป็นเรื่องง่ายเพียงอย่างเดียว แต่สอนให้นักเรียนมีวิธีคิดแบบนักไวโอลินด้วย

Leave a Reply