The Fountain โดยน้องภูเขา

คลิปส่งการบ้านระหว่างเรียนเพลง The Fountain Op.221 Karl Bohm

โจทย์ที่ครูให้ในสัปดาห์นี้คือพยายามเล่นให้โน้ตและจังหวะถูกต้องทั้งเพลง ซึ่งต้องอาศัยวิธีซ้อมแบบวิเคราะห์หาจุดที่ผิดและแก้ไขเฉพาะจุด ซึ่งคลิปที่ส่งมาถือว่ามีการซ้อมและแก้ไขมาดีมากๆค่ะ เพราะจุดที่เล่นผิดในชม. ได้รับการแก้ไขครบหมดทุกจุด

การวิเคราะห์จุดที่ผิดระหว่างที่ฝึกซ้อม โดยไม่ต้องมีครูคอยบอกนั้น ก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีบริหารสมองที่ดีเยี่ยมอีกวิธี ซึ่งนร.ที่เรียนกับครูเกรซทุกคนจะได้รับการปลูกฝังวิธีคิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ผ่านระบบการเรียนแบบ Socratic method ซึ่งจากประสบการณ์ในการสอน แม้แต่เด็กเล็กอายุ 3.5 ขวบก็สามารถฝึกวิเคราะห์ได้ในระดับนึงด้วยตัวเองเช่นกัน

เพลงนี้มีโน้ตใหม่ๆ ที่ต้องย้ายมืออยู่ตลอดเวลา ต้องอาศัยการฝึกซ้อมให้เกิดความแม่นยำ อีกทั้งความเร็วของเพลงที่ท้าทายในการฝึกซ้อม รวมไปถึงความยาวของเพลงที่ต้องมีสมาธิจดจ่อกับเพลงจนจบเพลง ทั้งหมดนี้ถ้าครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในกลไกการ ทำงานของสมอง และออกแบบวิธีฝึกให้สอดคล้อง ก็จะช่วยนักเรียนให้สามารถฝึกเพลงนี้ได้ โดยนักเรียนไม่รู้สึกว่ายากเกินไป และสนุกกับการเรียนค่ะ

และแม้ว่าการบ้านที่รร.จะเยอะมากๆ แต่น้องก็รู้จักแบ่งเวลาในการฝึกซ้อม น้องเป็นนักเรียนตัวอย่างที่ครูภูมิใจมากๆค่ะ

น้องภูเขา ชั้น ป.5 รร.อัสสัมธนฯ 

By อ.ณัฐนุชา ศศิปุราณะ (ครูนุ)

อาจารย์สอนไวโอลินผู้สร้างแชมป์ไวโอลินระดับประเทศ 5 สมัยซ้อน และมีผลงานระดับประเทศอีกมากมาย เช่นฝึกนักเรียนเป็นหัวหน้าวง Orchestra ต่างๆทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงฝึกครูผู้สอน และนักดนตรีมืออาชีพมากมาย ครูนุเชื่อว่าการเรียนไวโอลินนั้น วิธีคิดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้านักเรียนรู้วิธีคิดแบบนักไวโอลิน ก็จะรู้วิธีฝึกที่มีประสิทธิภาพ รู้วิธีอ่านโน้ต แกะเพลง และอยากฝึกเพลงหรือเล่นเพลงอะไรก็ทำได้เองโดยไม่ต้องพึ่งครูผู้สอน ซึ่งมีประโยชน์กับผู้เรียนในระยะยาวมากกว่าการฝึกเพลงโดยการจำเพลงหรือเล่นเลียนแบบครู ครูจึงไม่เพียงสอนวิธีเล่นไวโอลินที่ถูกต้องที่ทำให้การเล่นไวโอลินกลายเป็นเรื่องง่ายเพียงอย่างเดียว แต่สอนให้นักเรียนมีวิธีคิดแบบนักไวโอลินด้วย

Leave a Reply